วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

 

มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ Buddhadasa Indapanno Archives Foundation

มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ Buddhadasa Indapanno Archives Foundation

ตลอดช่วงชีวิต ๘๗ ปี ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๔๙-๒๕๓๖ ของท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านได้ศึกษาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรม อย่าง สม่ำเสมอและแพร่หลาย มีผลงานการเผยแผ่รูปธรรมและประจักษ์พยานอย่างมาก ไม่เฉพาะเพียงที่สวนโมกขพลาราม และ คณะธรรม ทานเท่านั้น เกิดการเคลื่อนไหวใหม่ในสังคม และแวดวงศาสนา อย่างต่อเนื่องกว้างขวางมากมาย สืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน ได้รับการยอมรับนับถือทั่วไปทั้งในระดับ ท้องถิ่น ประเทศ และสากล

ไม่จำเพาะเฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้นหลังมรณกรรมของท่านแล้ว สวนโมกขพลารามคณะธรรมทานและ คณะศิษยานุศิษย์ ตลอด จนกลุ่มผู้สนใจใฝ่ศึกษาปฏิบัติ ได้ประมวลรวบรวมสิ่งศึกษาเรียนรู้ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหลายของท่านไว้ สิ่งศึกษาเรียนรู้ ทั้งหมดนี เป็นมรดกทางปัญญาอันยิ่งใหญ่ สมควรจัดเก็บอนุรักษ์ไว้ให้เป็นระบบเพื่อความสะดวก ในการสืบค้นเพื่อเผยแผ่ และเป็น ประโยชน์เกิดสันติสุขแห่งมวลมนุษยชาติ ในเบื้องต้นจากการสำรวจเอกสาร สิ่งพิมพ์ ภาพ แถบเสียงโสตทัศน์ และวัตถุสิ่งของต่างๆ ของท่านพุทธทาส มีปริมาณเบื้องต้นมากกว่า ๒๗,๓๔๗ รายการ ซึ่งในปัจจุบันทุกอย่างอยู่ในสถานภาพที่เสี่ยงต่อการชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพ ควรได้รับการอนุรักษ์ รักษาอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ทางสวนโมกขพลาราม คณะธรรมทาน ตลอดจนคณะผู้ศึกษาและ ศรัทธาในท่านจะได้พยายามดำเนินการต่างๆ เพื่อจัดเก็บ รักษาและอนุรักษ์ แต่ก็พบว่ายังไม่สามารถดำเนินการให้ได้ดีและสมบูรณ์ สมกับคุณค่าของงานต่างๆ ที่มีอยู่ และพบว่าเกินกำลังและวิสัยของวัด มูลนิธิและอาสาสมัคร

ด้วยเหตุนี้คณะผู้ศรัทธาอันประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญงานจดหมายเหตุ ผู้เชี่ยวชาญงานระบบ ฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญงานสถาปัตยกรรม อาสาสมัคร และผู้แทนฝ่ายต่างๆ โดยความเห็นชอบของ สวนโมกขพลาราม และคณะธรรมทาน ได้ร่วมกันวางแนวทางในการจัดตั้งหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ซึ่งเป็นหอจดหมายเหตุศาสนธรรม (Religious Archives) เพื่อทำการเก็บรักษา อนุรักษ์ ศึกษาค้นคว้าและเผยแผ่ผลงานของท่านพุทธทาสฯ ให้แพร่หลาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริม ให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงหัวใจของศาสนา ตามปณิธาน ๓ ประการของท่านพุทธทาส โดยมีกำหนดให้สามารถ เปิดดำเนินการได้โดยเร็วประมาณปี ๒๕๕๒

http://www.bia.or.th/


วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

 

"ศิลปะแห่งชา" ละเมียดกับรสชาสัมผัสความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม

"ศิลปะแห่งชา" ละเมียดกับรสชาสัมผัสความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม

"ศิลปะแห่งชา" ละเมียดกับรสชาสัมผัสความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม


ศิลปะแห่งชา




โลกใบนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมอันรุ่มรวย การดื่มชาและการ ชงชาก็เป็นหนึ่งความรุ่มรวยในชีวิตนี้เช่นกัน แต่ละเชื้อชาติที่มีการผลิตชาก็จะมีวิธีการชงชาที่แตกต่างกันไป การชงชาจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ แม้แต่ชาจีนที่เรามักว่าเป็นเรื่องพื้นๆ ที่ดูง่ายๆ กินดื่มกันทั่วๆ ไปนั้น หากมองเข้าไปให้ลึกซึ้ง เราจะพบว่า การชงชามีแง่มุมที่ละเอียดอ่อน ปราณีต เนิบช้าแต่ก็ฉับไว แฝงอยู่ในความง่ายๆ นั้น


ภาชนะในการชงและดื่ม ใบชา น้ำ อุณหภูมิของน้ำ วิธีการชง วิธีการดื่ม กลิ่น สี รสชาติ บรรยากาศ เผ่าเพื่อน สิ่งเหล่านี้ล้วนประกอบกันขึ้นทำให้การชงชาไม่เป็นเพียงเรื่องพื้นๆ แต่เป็นเรื่องของศิลปะ หากเราใส่ใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เนิบช้ากับทุกการกระทำ เชื่อมโยงระหว่างตัวเรากับภายนอก ศิลปะแห่งชาอาจเป็นหนึ่งเดียวกับศิลปะการใช้ชีวิตของเราก็เป็นได้


ขอเชิญมาร่วมเรียนรู้วิธีการชงชา ความแตกต่างของชาแต่ละชนิด การเลือกใช้ภาชนะที่ใช้ชงและดื่มชา และร่วมดื่มชาในบรรยากาศที่เป็นกันเอง กลับมาสัมผัสความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม อ่อนโยนกับทุกการกระทำด้วยวิถีแห่งชา ละเมียดกับรสชา ที่รังสรรค์มาในแต่ละประเภท



ช่วงเวลาที่จัด

วันที่ 31 มกราคม 2553 เวลา 9.00 – 16.00 น.


บริจาคร่วมกิจกรรม

ท่านละ 1,000 บาท


จำนวนรับสมัคร

8 ท่าน


สถานที่จัด

พิพิธภัณฑ์บางกอก สี่พระยา กรุงเทพฯ

ที่ตั้ง ซอยเจริญกรุง 43 เดินเข้าไปประมาณ 300 เมตร จะเห็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ทางขวามือ โทร. 0-2234-6741

การเดินทาง - รถประจำทางสาย 1, 35, 36, 75 และ 93


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

เสมสิกขาลัย สำนักงานรามคำแหง

จงรักษ์ แซ่ตั้ง หรือ เจนจิรา โลชา

โทรศัพท์ 02-314 7385 ถึง 6 e-mail: semsikkha_ram@yahoo.com


วิทยากร


จงรักษ์ กิตติวรการ
เดิมเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันลาออกและทำงานเป็นนักวิจัยอิสระ มีชาเข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตตั้งแต่เด็ก เนื่องจากเกิดและโตในครอบครัวที่เป็นจีน จึงเริ่มรู้จักชาในฐานะเครื่องดื่มประจำบ้าน และเริ่มหัดชงชาจากคุณพ่อ เมื่อได้ไปศึกษาอยู่ที่ญี่ปุ่น ใช้ชีวิตใกล้แหล่งผลิตชาขึ้นชื่อจึงได้เพิ่มโอกาสชิมชาญี่ปุ่นที่กว้างขึ้น จนได้มีโอกาสรู้จักอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ซึ่งเป็นนักดื่มประเภทรู้แยกแยะชาดีเลว และมีลิ้นที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงผิดเพี้ยนของน้ำชาจากการชงเป็นอย่างมาก จึงได้ฝึกปรือภายใต้คำวิจารณ์จากนักวิจารณ์สังคมท่าน นี้ และกำลังใจจากมิตรสหายผู้นิยมชาทำให้ต้องเอาใจใส่ในการชงชายิ่ง จึงค่อยเก็บเล็กเก็บน้อย เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์จากเหล่าสหายผู้นิยมชาต่อไปและยินดีที่จะร่วมแบ่ง ปันประสบการณ์การชาและดื่มชาให้กับกัลยาณมิตรที่สนใจ อีกทั้งยังได้เปิดร้านชาที่พิพิธภัณฑ์บางกอก สี่พระยา

ตารางกิจกรรม
08.30 – 09.00 น.ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น.ทำความรู้จักกัน
09.30 - 10.00 น. ทำความรู้จักชา ทั้ง 5 ประเภท และการกำเนิดของชา
10.00 - 10.30 น.สัมผัสรสชาเขียว และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
10.30 – 10.45 น.อาหารว่าง
10.45 – 11.00 น.เรียนรู้เรื่องภาชนะ ในการชงชา
11.00 - 12.00 น.สัมผัสรสชาขาว และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
12.00 – 13.30 น.อาหารกลางวัน พร้อมชมพิพิธภัณฑ์บางกอก
13.30 – 14.00 น.เรียนรู้เรื่องน้ำและอุณหภูมิของน้ำในการชงชา
14.00 – 14.30 น.สัมผัสรสชาฟ้า และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
14.30 – 15.00 น.เทคนิคการชงชา
15.00 - 15.30 น.สัมผัสรสชาแดง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
15.30– 15.45 น.อาหารว่างบ่าย
15.45 – 16.00 น.แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสัมผัสโลกแห่งชา
16.00 น.เดินทางกลับ

* กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

-----------------------------------------------------

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

- โลกของชา

- ชมภาพประทับใจครั้งก่อน

http://www.thaingo.org/xboard/viewthread.php?tid=785&extra=page%3D1


 

โลกของชา

โลกของชา

เจนจิรา โลชา


ใคร ต่อใครก็ต่างพากันคิดว่า น้ำชา ที่เราดื่มกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นเรื่องพื้นๆ หาดื่มได้ง่ายๆ เพราะมีชาเย็นบรรจุขวดไว้ขายมากมายหลายยี่ห้อ หรือมีไว้บริการตามร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านข้าวมันไก่ทั่วๆไป หากแต่เราลองหันมาศึกษา สัมผัสกับรสและกลิ่นชาอย่างแท้จริงแล้ว เราจะพบว่า การดื่มชา เป็นศิลปะที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่แฝงความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมเอาไว้ เรื่องราวที่เราคิดว่าธรรมดานี้ กลับไม่ธรรมดาเสียแล้ว มาลองทำความรู้จัก “ชา” ให้มากขึ้นกันดีกว่า

อาจารย์จงรักษ์ กิตติวรการ เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านได้สนใจศึกษาเรื่องชา ทดลองชงชาด้วยน้ำชนิดต่างๆ ด้วยน้ำที่อุณหภูมิต่างกัน เรียนรู้ลักษณะเฉพาะชองชาแต่ละชนิด เสมสิกขาลัยจึงได้เชื้อเชิญท่านให้มาแบ่งปันประสบการณ์ ถ่ายทอดเรื่องราว เปิดโลกของชาให้เราได้สัมผัส อาจารย์ยังเล่าให้ฟังถึงประวัติการดื่มชาที่มีมาตั้งแต่ดังเดิมและแพร่หลาย ไปทั่วโลก ซึ่งลักษณะของการผลิตใบชา ภาชนะที่ใช้ดื่มและวิถีของการดื่มชาของแต่ละถิ่นฐานก็ต่างกันไปตามแต่ละ วัฒนธรรม ซึ่งรากของการดื่มชามาจากประเทศจีนนั่นเองที่เป็นต้นกำเนิดวัฒนธรรมการดื่ม น้ำชา
จากคำว่า “น้ำชา” มีเหตุปัจจัยมากมายที่หลอมรวมกันเข้ามา ที่ทำให้ น้ำ+ชา กลายเป็นศิลปะแห่งชา ที่จะนำพาให้เราได้กลับมาสัมผัสความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม และอ่อนโยนกับทุกการกระทำด้วยวิถีแห่งชา

• ชา ๕ ประเภท
ใบ ชา (ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะ ชาจีน เท่านั้น) มีหลากหลายชนิดมาก และคิดว่าอาจจะยังไม่มีผู้ใดเก็บข้อมูลศึกษาเรื่องชนิดของใบชาอย่างจริงจัง ว่า ใบชาจีนมีกี่ชนิดกันแน่ แต่สามารถแบ่งใบชา เป็น ๕ ประเภท ได้แก่ ชาเขียว คือ ใบชาที่ไม่ได้มีการหมักใดๆ เลย ส่วนใบชาอีก ๔ ประเภทที่เหลือ มีการหมัก ซึ่งเรียงลำดับจากการหมักในเวลาน้อยไปจนถึงมีระยะเวลาการหมักที่นานมากขึ้น ตามลำดับ คือ ชาขาว ชาฟ้า ชาแดง และชาดำ เช่น ชาอู่หลง จัดเป็นชาประเภท ชาฟ้า
ใบชาแต่ละประเภท แต่ละชนิดต่างก็มีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างกันไป ชาเขียวและชาขาว มีสีและรสชาติที่อ่อน การชงชาเขียวหรือชาขาวจึงใช้น้ำที่ไม่ร้อนจัดจนเกินไปและต้องแช่ใบชานานกว่า ชาประเภทอื่นๆ เพื่อที่สามารถดึงกลิ่นและรสชาติของใบชาออกมาได้ ดังนั้นการชงชาแต่ละประเภท แต่ละชนิดจึงแตกต่างกัน เป็นเรื่องที่เราต้องทดลอง ลองผิดลองถูกดูว่าชาชนิดไหน เหมาะกับน้ำอุณหภูมิใด ที่สำคัญคือ การชงชาไม่มีถูกไม่มีผิด ขึ้นอยู่กับว่ารสชาติและกลิ่นชนิดใดที่เรารู้สึกชอบและพึ่งพอใจ นั่นถือว่าเป็นรสชาติชาที่ดีสำหรับเรา

• น้ำ
ใบ ชาที่มีความแตกต่างกัน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ชงชาทำหน้าที่เพียงแค่ต้มน้ำที่มีอุณหภูมิที่เหมาะกับชาในชนิดนั้น เราทำแค่เพียงสร้างปัจจัยที่ถึงพร้อมเพื่อให้ใบชาเปิด แสดงรส สี และกลิ่นธรรมชาติที่เฉพาะตนของเขาเท่านั้น สิ่งที่เราจะทำได้คือ การอยู่กับธรรมชาติของใบชา ธรรมชาติของน้ำ ธรรมชาติของภาชนะที่ใช้ชงและดื่ม เราไม่อาจควบคุม บังคับให้ชามีรสชาติ สีและกลิ่น ตามที่ใจปรารถนาได้ นั่นคือ เราต้องเปิดใจเราก่อนจึงจะสามารถทำให้ชาเปิดความเป็นตัวของตัวเองเช่นกัน
น้ำ เป็นตัวแปรที่สำคัญในการชงชา ทั้งชนิดของน้ำที่เราใช้ชงชา และอุณหภูมิของน้ำ น้ำประปา น้ำแร่ น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำผ่านเครื่องกรองโอโซน น้ำเดือนจัด น้ำร้อนมาก ร้อนน้อย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญในการที่จะดึงรสของชา ดังนั้นในการชงชา น้ำจึงเป็นหัวใจสำคัญเทียบเท่ากับคำว่า ใบชา เพราะคำว่า น้ำชา มาจากคำว่า น้ำ+ชา นั้นเอง
รสของชาเมื่อใช้น้ำประปาแตกต่างกับชาที่ใช้น้ำแร่ชง มีเมื่อลองดื่มชาที่ใช้น้ำแร่จะพบว่า มีความเบาละเอียด หอมหวนติดอยู่ที่ลิ้นและในลำคอ หากดื่มชาชนิดเดียวกันที่ชงโดยน้ำประปา รสชาติและกลิ่นของชาจะชัดเจน มีน้ำหนักไม่เบาหวิวๆ เหมืนชาที่ชงจากน้ำแร่ ไม่มีสิ่งใดสามารถบ่งบอกได้ว่าใช้น้ำชนิดใดแล้วจะทำให้รสชาติชาดีกว่ากัน ส่วนอุณหภูมิของน้ำและการแช่ใบชา ขึ้นอยู่กับชนิดของชา ซึ่งเราไม่สามารถจำกัดตายตัวได้เลยว่า ชาชนิดนี้ควรใช้น้ำกี่องศา แช่น้ำนานกี่นาที แต่อย่างคร่าวๆ คือ ชาเขียวและชาขาว ไม่ควรช้ำเดือดหรือร้อนจัด และควรแช่ใบชานานชากชนิดอื่น ส่วนชาฟ้า ชาแดง และชาดำ ควรใช้น้ำที่ร้อนจัด และใช้เวลาแช่ใบชาน้อยลงตามลำดับ เพราะชามีรสชาติที่เข้มอยู่แล้ว หากแช่นานเกินไปจะทำให้รสชาติชาเฟือน เช่นเดิมคงขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ที่ดื่มเท่านั้นที่จะบอกว่าจะใช้น้ำชนิด ใดในการชงชาที่ทำให้รสของชาดีในความรู้สึกของเรา และเราจะใช้น้ำอุณหภูมิใดที่เหมาะสมกับชนิดแต่ละชนิดคงต้องคอยทดลอง ศึกษาธรรมชาติของชาแต่ละชนิด คงต้องให้เวลากับชา ลงรายละเอียดใส่ใจกับสิ่งเล็กๆน้อย แต่เป็นหัวใจสำคัญในการชงชา คือ น้ำ นั่นเอง

• ภาชนะที่ใช้ในการชงชา
ภาชนะ ที่ใช้ในการชงชา ไม่ว่าจะเป็นปั้นชา หรือถ้วยชา ที่เรามักจะพบเจอกันบ่อยๆ มักจะเป็นเครื่องเคลือบเซรามิก และเครื่องดินเผา ภาชนะทั้งสองชนิดนี้มีคุณลักษณะที่ต่างกัน คือ เครื่องดินเผาจะสามารถเก็บความร้อนได้ดีกว่า ส่วนภาชนะที่เป็นเครื่องเคลือบเซรามิกจะเก็บความร้อนได้น้อยกว่า อีกทั้งปั้นชาก็มีขนาดที่แตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่เล็ก ที่สามารถชงได้ ๒ ถ้วยชาขึ้นไป นั่นขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการน้ำชาจำนวนกี่ถ้วยการการชงชาในแต่ละครั้ง
ในการเลือกปั้นชา ควรจะทำการลองปั้นชาก่อนซื้อ เลือกที่มีน้ำพวยพุ่งออกมาแรงและเป็นสาย ไม่แตกกระเซ็น หูจับปั้นชาและปากพวยน้ำอยู่ในระดับเดียวกัน ที่สำคัญเนื้อดินที่ใช้ทำปั้นชาต้องเป็นเนื้อดินเดียวกัน มีความบาง ว่ากันว่าปั้นชาที่ใช้ชงชาบ่อยๆ ยิ่งทำให้มีรสชาติชาที่ดี เพราะกลิ่นชาได้ซึมเข้าไปในเนื้อดินของปั้นชานั้นแล้ว การเลือกปั้นชาและถ้วยชา ควรเลือกที่เราชอบ จับถนัดมือ ใช้ความรู้สึกของเราเป็นตัวเลือกและเราจะมีความสุขเป็นได้ชงชาในสิ่งที่เรา ชอบและเลือกมันด้วยความพึงพอใจ


การชงชาและดื่มชา บางคนอาจจะสงสัยว่าควรจะดื่มชาชนิดใด หรือเวลาใดจึงจะเหมาะสมกับตัวเรา ซึ่งอาจจะมีผลการวิจัยออกมามากมายว่า ชาชนิดนี้สามารถช่วยรักษาสุขภาพได้อย่างไร แต่นั่นส่วนใหญ่ก็มาจากการวิจัยและเผยแพร่เพื่อการตลาดทั้งสิ้น ดังนั้นการดื่มชาแต่ละครั้ง ตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นคนตัดสินว่า ดื่มชาชนิดใดและดื่มเวลาใดที่เหมาะกับตัวเรา หากเราลองเฝ้าสังเกตร่างกายและจิตใจของเราขณะที่ดื่มชาแต่ละครั้ง ฟังเสียงที่ร่างกายบอก ตัวเราจะรู้เองว่า ชนิดใดที่ดีต่อตัวเรา ไม่อาจมีใครมาตัดสินหรือรู้จักร่างกายของเราดีมากกว่าตัวเรา ลองเชื่อในประสาทการรับรู้กลิ่น สี และรสของตัวเรา เราต้องทดลอง ผ่านประสบการณ์และเรียนรู้โลกของชาผ่านตัวเอง
คงจะเป็นเพราะสิ่งเหล่า นี้เอง ที่ทำให้บางคนเชื่อว่า การชงชาและการดื่มชาจะนำพาตัวเราไปสู่วิถีแห่งการภาวนาได้เช่นกัน หากทุกครั้งที่เราชงชาและดื่มชา เราจะกลับมาเฝ้าสังเกตดูสภาวะที่เกิดขึ้นภายในร่างกายและจิตใจของเรา เรียนรู้ที่จะสัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริงของใบชา น้ำ และภาชนะที่ในการชงและดื่มกิน อยู่กับทุกการกระทำ การเคลื่อนในขณะที่ชงชาและดื่มชา เรื่อง “ชา” ที่แสนจะธรรมดาก็กลายเป็นวิถีอันรุ่มรวยทางจิตวิญญาณไปด้วยเช่นกัน

การ เปิดประตูสู่โลกของชาในครั้งนี้ เราได้ลองดื่มจิบ ดมดอมกลิ่นชานานาชนิด ที่สำคัญคือการได้ทดลองชงชาด้วยตัวเองที่มีอาจารย์คือแนะนำอย่างใกล้ชิด มีเพื่อนๆ คอยชวนชิมชาในบรรยากาศที่เป็นกันเอง เชื่อมร้อยวัฒนธรรม เชื่องโยงศิลปะแห่งชาสู่วิถีการภาวนา โลกของเราและโลกของชา จึงกลายเป็นโลกภายในใบเดียวกัน

รายงานจากการอบรม “ศิลปะแห่งชา”
วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ณ พิพิธภัณฑ์บอกกอก สี่พระยา กรุงเทพฯ
http://www.semsikkha.org/sem/index.php?option=com_content&view=article&catid=28&id=153&Itemid=36

This page is powered by Blogger. Isn't yours?

สมัครสมาชิก บทความ [Atom]