วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

 

"ศิลปะแห่งชา" ละเมียดกับรสชาสัมผัสความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม

"ศิลปะแห่งชา" ละเมียดกับรสชาสัมผัสความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม

"ศิลปะแห่งชา" ละเมียดกับรสชาสัมผัสความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม


ศิลปะแห่งชา




โลกใบนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมอันรุ่มรวย การดื่มชาและการ ชงชาก็เป็นหนึ่งความรุ่มรวยในชีวิตนี้เช่นกัน แต่ละเชื้อชาติที่มีการผลิตชาก็จะมีวิธีการชงชาที่แตกต่างกันไป การชงชาจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ แม้แต่ชาจีนที่เรามักว่าเป็นเรื่องพื้นๆ ที่ดูง่ายๆ กินดื่มกันทั่วๆ ไปนั้น หากมองเข้าไปให้ลึกซึ้ง เราจะพบว่า การชงชามีแง่มุมที่ละเอียดอ่อน ปราณีต เนิบช้าแต่ก็ฉับไว แฝงอยู่ในความง่ายๆ นั้น


ภาชนะในการชงและดื่ม ใบชา น้ำ อุณหภูมิของน้ำ วิธีการชง วิธีการดื่ม กลิ่น สี รสชาติ บรรยากาศ เผ่าเพื่อน สิ่งเหล่านี้ล้วนประกอบกันขึ้นทำให้การชงชาไม่เป็นเพียงเรื่องพื้นๆ แต่เป็นเรื่องของศิลปะ หากเราใส่ใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เนิบช้ากับทุกการกระทำ เชื่อมโยงระหว่างตัวเรากับภายนอก ศิลปะแห่งชาอาจเป็นหนึ่งเดียวกับศิลปะการใช้ชีวิตของเราก็เป็นได้


ขอเชิญมาร่วมเรียนรู้วิธีการชงชา ความแตกต่างของชาแต่ละชนิด การเลือกใช้ภาชนะที่ใช้ชงและดื่มชา และร่วมดื่มชาในบรรยากาศที่เป็นกันเอง กลับมาสัมผัสความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม อ่อนโยนกับทุกการกระทำด้วยวิถีแห่งชา ละเมียดกับรสชา ที่รังสรรค์มาในแต่ละประเภท



ช่วงเวลาที่จัด

วันที่ 31 มกราคม 2553 เวลา 9.00 – 16.00 น.


บริจาคร่วมกิจกรรม

ท่านละ 1,000 บาท


จำนวนรับสมัคร

8 ท่าน


สถานที่จัด

พิพิธภัณฑ์บางกอก สี่พระยา กรุงเทพฯ

ที่ตั้ง ซอยเจริญกรุง 43 เดินเข้าไปประมาณ 300 เมตร จะเห็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ทางขวามือ โทร. 0-2234-6741

การเดินทาง - รถประจำทางสาย 1, 35, 36, 75 และ 93


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

เสมสิกขาลัย สำนักงานรามคำแหง

จงรักษ์ แซ่ตั้ง หรือ เจนจิรา โลชา

โทรศัพท์ 02-314 7385 ถึง 6 e-mail: semsikkha_ram@yahoo.com


วิทยากร


จงรักษ์ กิตติวรการ
เดิมเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันลาออกและทำงานเป็นนักวิจัยอิสระ มีชาเข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตตั้งแต่เด็ก เนื่องจากเกิดและโตในครอบครัวที่เป็นจีน จึงเริ่มรู้จักชาในฐานะเครื่องดื่มประจำบ้าน และเริ่มหัดชงชาจากคุณพ่อ เมื่อได้ไปศึกษาอยู่ที่ญี่ปุ่น ใช้ชีวิตใกล้แหล่งผลิตชาขึ้นชื่อจึงได้เพิ่มโอกาสชิมชาญี่ปุ่นที่กว้างขึ้น จนได้มีโอกาสรู้จักอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ซึ่งเป็นนักดื่มประเภทรู้แยกแยะชาดีเลว และมีลิ้นที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงผิดเพี้ยนของน้ำชาจากการชงเป็นอย่างมาก จึงได้ฝึกปรือภายใต้คำวิจารณ์จากนักวิจารณ์สังคมท่าน นี้ และกำลังใจจากมิตรสหายผู้นิยมชาทำให้ต้องเอาใจใส่ในการชงชายิ่ง จึงค่อยเก็บเล็กเก็บน้อย เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์จากเหล่าสหายผู้นิยมชาต่อไปและยินดีที่จะร่วมแบ่ง ปันประสบการณ์การชาและดื่มชาให้กับกัลยาณมิตรที่สนใจ อีกทั้งยังได้เปิดร้านชาที่พิพิธภัณฑ์บางกอก สี่พระยา

ตารางกิจกรรม
08.30 – 09.00 น.ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น.ทำความรู้จักกัน
09.30 - 10.00 น. ทำความรู้จักชา ทั้ง 5 ประเภท และการกำเนิดของชา
10.00 - 10.30 น.สัมผัสรสชาเขียว และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
10.30 – 10.45 น.อาหารว่าง
10.45 – 11.00 น.เรียนรู้เรื่องภาชนะ ในการชงชา
11.00 - 12.00 น.สัมผัสรสชาขาว และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
12.00 – 13.30 น.อาหารกลางวัน พร้อมชมพิพิธภัณฑ์บางกอก
13.30 – 14.00 น.เรียนรู้เรื่องน้ำและอุณหภูมิของน้ำในการชงชา
14.00 – 14.30 น.สัมผัสรสชาฟ้า และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
14.30 – 15.00 น.เทคนิคการชงชา
15.00 - 15.30 น.สัมผัสรสชาแดง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
15.30– 15.45 น.อาหารว่างบ่าย
15.45 – 16.00 น.แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสัมผัสโลกแห่งชา
16.00 น.เดินทางกลับ

* กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

-----------------------------------------------------

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

- โลกของชา

- ชมภาพประทับใจครั้งก่อน

http://www.thaingo.org/xboard/viewthread.php?tid=785&extra=page%3D1


ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]





<< หน้าแรก

This page is powered by Blogger. Isn't yours?

สมัครสมาชิก บทความ [Atom]